📣 การเทียบโอนผลการเรียน ประกอบด้วยการดำเนินงาน 2 ด้าน ได้แก่ การเทียบรายวิชา และ การโอนผลการเรียน

📤 การเทียบรายวิชา หมายถึง การเทียบเนื้อหาวิชาของวิชาใดวิชาหนึ่ง ที่ไม่ได้อยู่ในหลักสูตรที่กำลังศึกษา เข้าสู่รายวิชาใดวิชาหนึ่ง ในหลักสูตรที่ศึกษาอยู่ เพื่อนำรายวิชานั้นไปโอนผลการศึกษาหรือลงทะเบียนเรียนต่อไป

📤 การโอนผลการศึกษา หมายถึง การนำผลการศึกษาของวิชาที่ศึกษานอกหลักสูตรที่ศึกษา มาโอนเข้าสู่หลักสูตรที่ศึกษา เพื่อให้ได้หน่วยกิต สำหรับนำไปใช้ในการสำเร็จการศึกษา ผลการเรียนที่สามารถนำมาโอนได้ มีดังนี้

  • ผลการเรียนจากการขอย้ายหลักสูตรภายในสถาบัน
  • ผลการเรียนของรายวิชาที่เคยศึกษาในสถาบัน
  • ผลการทดสอบที่สถาบันจัดสอบพิเศษอื่นๆ
  • ผลการเรียนจากการศึกษาในสถาบันอื่นในประเทศและต่างประเทศ ตามโครงการความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตร่วมกัน หรือตามโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ หรือนักศึกษาไปศึกษาด้วยตนเอง โดยได้รับการอนุมัติจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ก่อนไปลงทะเบียนเรียน
  • ผลการเรียนจากโครงการเรียนล่วงหน้าของสถาบัน
  • ผลการเรียนหรือผลการสอบก่อนเข้าศึกษา ที่จัดโดยหน่วยงานระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และสภาวิชาการ
  • ผลการเรียนจากหลักสูตรฝึกอบรมที่จัดโดยสถาบันและสามารถนับหน่วยกิตได้

📤 การเทียบโอนผลการเรียน เป็นการขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตของรายวิชาที่เคยศึกษามาแล้ว ผลการเรียนที่สามารถนำมาเทียบโอนได้ มีดังนี้

  • ผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ จากสถาบันการศึกษาอื่นในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า
  • ผลการเรียนจากการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงการเทียบประสบการณ์จากการทำงาน

📤 การเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิต ประเภทต่าง ๆ

1. การเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตจากรายวิชาภายในสถาบัน

  • วิชาที่ลงทะเบียนเรียนไปแล้วต้องมีสาระสำคัญครอบคลุมรายวิชา หรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบ
  • จำนวนหน่วยกิตและชั่วโมงสอนของรายวิชาที่ขอเทียบต้องไม่น้อยกว่าของรายวิชาที่ขอเทียบโอนหน่วยกิต
  • รายวิชานั้นต้องได้ค่าระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า C หรือ 00 โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการประจำส่วนงานวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

2. การเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตจากการศึกษาในระบบจากสถาบันการศึกษาอื่นในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า

  • ต้องเป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า
  • ต้องมีสาระสำคัญครอบคลุมรายวิชา หรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบ
  • พิจารณาจากผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ สาระสำคัญ จำนวนหน่วยกิตและชั่วโมงสอน และผลการวัดและประเมินของผู้เรียน
  • หากเป็นผลการศึกษาจากสถาบันการศึกษาอื่น รายวิชานั้นต้องได้ค่าระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า C+ หรือ 50 หรือ เทียบเท่า โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการประจำส่วนงานวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • กรณีการโอนหน่วยกิตของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่สอบได้ค่าระดับคะแนน S ต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล
  • สามารถโอนหน่วยกิตจากการศึกษาในระบบได้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของหน่วยกิตรวมของหลักสูตรที่ศึกษาอยู่

3. การเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตจากการศึกษานอกระบบ

  • ต้องมีผลลัพธ์การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบ
  • การเทียบโอนจากการศึกษานอกระบบ พิจารณาจากผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ สาระสำคัญ จำนวนชั่วโมงสอน วิธีการวัดและประเมินผล รูปแบบและวิธีการจัดการศึกษา คุณสมบัติของผู้สอน ผลการวัดและประเมินผลของผู้เรียน เอกสารยืนยันการศึกษาจากหน่วยงานที่จัดการศึกษา และข้อมูลประวัติและผลงาน
  • หน่วยกิตรวมของการเทียบโอนหน่วยกิตจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องรวมกันไม่เกิน 3 ใน 4 ของจำนวนหน่วยกิตรวมในหลักสูตรนั้นๆ

4. การเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตจากการศึกษาตามอัธยาศัย

  • ต้องมีผลลัพธ์การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบ
  • การเทียบโอนจากการศึกษาตามอัธยาศัย พิจารณาผลลัพธ์การเรียนรู้จากบันทึกประสบการณ์ ข้อมูลของแหล่งที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์นั้น และการเทียบเคียงประสบการณ์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชา

5. การเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตจากโครงการเรียนล่วงหน้า หรือผลการทดสอบที่สถาบันจัดสอบพิเศษอื่นๆ

  • จะต้องเป็นรายวิชาจากโครงการเรียนล่วงหน้าหรือการจัดสอบที่ผ่านการประเมินเนื้อหาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และได้รับความเห็นชอบจากสถาบันแล้ว
  • รายวิชาเรียนที่เปิดสอนในสถาบัน สามารถเทียบโอนได้ในรายวิชาที่สอบได้ค่าระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า C+ หรือ 50 หรือเทียบเท่า โดยให้นำระดับคะแนนมาคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
  • สามารถเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตได้ไม่เกิน 1 ใน 4 ของจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

6. การเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตจากหลักสูตรฝึกอบรมที่จัดโดยสถาบัน และสามารถนับหน่วยกิตได้

  • จะต้องเป็นหลักสูตรฝึกอบรมที่จัดโดยสถาบัน ที่ผ่านการประเมินเนื้อหาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ในกรณีที่เป็นวิชาภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือจากสำนักวิชาศึกษาทั่วไปในกรณีที่เป็นวิชาศึกษาทั่วไป และได้รับความเห็นชอบจากสถาบันแล้ว
  • เงื่อนไขการเทียบโอน และรูปแบบการให้เกรด จะขึ้นอยู่กับโครงการอบรมนั้นๆ

📣 คำร้องที่เกี่ยวข้อง

  • ขอเทียบโอนหน่วยกิตจากรายวิชาภายในสถาบัน
  • ขอเทียบโอนหน่วยกิตจากสถาบันการศึกษาอื่น
  • ขอเทียบโอนหน่วยกิตจากการศึกษานอกระบบ
  • ขอเทียบโอนหน่วยกิตจากการศึกษาตามอัธยาศัย
  • ขอเทียบโอนหน่วยกิตจากโครงการเรียนล่วงหน้า
  • ขอเทียบโอนหน่วยกิตจากผลการสอบที่สถาบันจัดสอบ
  • ขอเทียบโอนหน่วยกิตจากการฝึกอบรม